เมนู

อย่างด้วยประสงค์ถึงบุคคล ด้วยประการฉะนี้. บทที่เหลืออันควรกล่าว
ไว้ในที่นี้ท่านกล่าวไว้แล้วในการพรรณนาถึงสังขารุเบกขาญาณแล.
จบ อรรถกถาญาณัตตยนิทเทส


อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส


[211] ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่ง
สมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณอย่างไร ?
เอกัคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ
ญาณเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธินั้น อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วย
ญาณนั้น สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ ความสิ้น
ไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึง
กล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิ
อันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ.
[212] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ
ภวาสวะ อวิชชาสวะ แต่ละอย่าง อันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ย่อม
สิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งโสดา-

ปัตติมรรคนี้ กามาสวะส่วนหยาบ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่
ร่วมกันกับกามาสวะนั้นย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้
ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้ กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ
อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคา-
มิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้ ภวาสวะ
อวิชชาทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปใน
ขณะแห่งอรหัตมรรคนี้.
[213] เอกัคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งความไม่
พยาบาท ฯ ล ฯ ด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา ด้วยสามารถแห่งความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งการกำหนดธรรม ด้วยสามารถแห่งญาณ
ด้วยสามารถแห่งความปราโมทย์
ด้วยสามารถแห่งปฐมฌาน ด้วยสามารถแห่งทุติยฌาน ด้วย
สามารถแห่งตติยฌาน ด้วยสามารถแห่งจตุตถฌาน ด้วยสามารถแห่ง
อากาสานัญจายตนสมาบัติ ด้วยสามารถแห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
ด้วยสามารถแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ ด้วยสามารถแห่งเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ.
ด้วยสามารถแห่งปฐวีกสิณ ด้วยสามารถแห่งอาโปกสิณ ด้วย
สามารถแห่งเตโชกสิณ ด้วยสามารถแห่งวาโยกสิณ ด้วยสามารถแห่ง
นีลกสิณ ด้วยสามารถแห่งปีตกสิณ ด้วยสามารถแห่งโลหิตกสิณ ด้วย

สามารถแห่งโอทาตกสิณ ด้วยสามารถแห่งอากาสกสิณ ด้วยสามารถ
แห่งวิญญาณกสิณ
ด้วยสามารถแห่งพุทธานสติ ด้วยสามารถแห่งธรรมานุสติ ด้วย
สามารถแห่งสังฆานุสติ ด้วยสามารถแห่งสีลานุสติ ด้วยสามารถแห่ง
จาคานุสติ ด้วยสามารถแห่งเทวตานุสติ ด้วยสามารถแห่งอานาปานสติ
ด้วยสามารถแห่งมรณสติ ด้วยสามารถแห่งกายคตาสติ ด้วยสามารถ
แห่งอุปสมานุสติ
ด้วยสามารถแห่งอุทธุมาตกสัญญา ด้วยสามารถแห่งวินีลกสัญญา
ด้วยสามารถแห่งวิปุพพกสัญญา ด้วยสามารถแห่งวิฉิททกสัญญา ด้วย
สามารถแห่งวิกขายิตกสัญญา ด้วยสามารถแห่งวิกขิตตกสัญญา ด้วย
ด้วยสามารถแห่งหตวิกขิตตกสัญญา ด้วยสามารถแห่งโลหิตกสัญญา
ด้วยสามารถแห่งปุฬุวกสัญญา ด้วยสามารถแห่วอัฏฐิกสัญญา

ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้ายาว
ด้วยสามารถแห่งการหายใจออกยาว
ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้าสั้น
ด้วยสามารถแห่งการหายใจออกสั้น
ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งความระงับกายสังขารหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งความระงับกายสังขารหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งสุขหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งสุขหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งความระงับจิตสังขารหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งความระงับจิตตสังขารหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งความทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งความทำจิตให้บันเทิงหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งความตั้งจิตไว้หายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งความตั้งจิตไว้หายใจออก
ด้วยสามารถแห่งความเปลื้องจิตหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งความเปลื้องจิตหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความดับหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความดับหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก
เป็นสมาธิแต่ละอย่าง ๆ ญาณย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธินั้น
อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง
ด้วยประการดังนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความ
บริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ.

[214] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ
ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดา-
ปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคนี้.
กามาสวะส่วนหยาบ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับ
กามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้.

กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับ
กามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป
ในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้.
ภวาสวะ อวิชชาสวะ ย่อมในรูปไม่มีส่วนเหลือด้วยอรหัตมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตมรรคนี้.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะ
ขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานัน-
ตริกสมาธิญาณ.

อรรถกถาอานันตริกสมาธิญาณนิทเทส


[211 - 214] พึงทราบวินิจฉัยในอานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
ดังต่อไปนี้. ในบทมีอาทิว่า เนกฺขมฺมวเสน - ด้วยสามารถแห่งเนก-
ขัมมะมีอธิบายดังต่อไปนี้ ธรรมทั้งหลาย คือ เนกขัมมะ อัพยาบาท
อาโลกสัญญา การกำหนดธรรมที่ไม่ฟุ้งซ่าน ญาณและปราโมทย์
ประกอบด้วยอุปจารฌาน ของพระสุกขวิปัสสก เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส
นั้น ๆ สัมปยุตด้วยจิตดวงเดียวเท่านั้น.
บทว่า จิตฺตสฺส เอกคฺคตา อวิกฺเขโป - เอกัคตาจิตอันไม่
ฟุ้งซ่าน คือ ความเป็นจิตเลิศดวงเดียว ชื่อว่า เอกัคตา. ชื่อว่า